รายงานผลการดำเนินงาน
การดำเนินโครงการ
การดำเนินโครงการฯ มีกิจกรรมที่สำคัญ 5 กิจกรรม ประกอบด้วย
(1) การจัดจ้างที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
(2) การจัดซื้ออุปกรณ?เก็บรวบรวมข้อมูล (เครื่อง Tablet และอุปกรณ์สำรองไฟ)
(3) การวางแผนและเตรียมงานในการดําเนินงาน
(4) การเก็บรวบรวมข?อมูลโครงสร?างพื้นฐาน และ
(5) การประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล
ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการในกิจกรรมที่ 5 (กิจกรรมสุดท้าย) ทั้งนี้ ในภาพรวมโครงการฯ มีความล่าช้ากว่าแผนงานที่กำหนด โดยมีสาเหตุสำคัญเนื่องจากการดำเนินกิจกรรมที่ 2 การจัดซื้อเครื่อง Tablet พร้อมเครื่องสำรองไฟ ด้วยวิธีการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)ใช้เวลาในการดำเนินการตั้งแต่การกำหนดรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะ (TOR) การประชาพิจารณ์ การประกวดราคา การอุทธรณ์และการพิจารณาผลการอุทธรณ์ จนถึงลงนามในสัญญา ประมาณ 2 ปี (ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2559 จนถึงวันที่ 3 ธันวาคม 2561) และได้รับ Tablet ครบทั้งหมด จำนวน 20,561 เครื่อง ในเดือนพฤษภาคม 2562 ซึ่งมีความล่าช้าจากแผนงาน ประมาณ 12 เดือน ทำให้เกิดผลกระทบต่อการดำเนินการในขั้นตอนอื่น ๆ โดยเฉพาะการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม และการประมวลผลข้อมูลและส่งผลให้สำนักงานสถิติ แห่งชาติไม่สามารถเบิกจ่ายเงินกู้ของกิจกรรมการจ้างที่ปรึกษาโครงการฯ สำหรับค่าจ้างในงวดที่ 6 (งวดสุดท้าย) และเงินประกันผลงาน รวมทั้งสิ้น 8,864,250.50 บาท ได้ทันภายใน 30 กันยายน 2562
ในการนี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติได้ขยายระยะเวลาดำเนินโครงการ จากสิ้นสุดในวันที่ 15 กันยายน 2562 ไปเป็นวันที่ 30 มิถุนายน 2563 และขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ จำนวน 8,864,250.50 บาท เพื่อดำเนินโครงการในระยะต่อไป
สรุปผลการดำเนินงานในกิจกรรมที่สำคัญ ดังนี้
กิจกรรม |
ผลการดำเนินงาน |
หมายเหตุ |
1. การจัดจ้างที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ |
- สำนักงานสถิติแห่งชาติได้ดำเนินการจ้างมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นที่ปรึกษาโครงการฯ วงเงิน46,653,950 บาท ระยะเวลา 900 วัน (วันที่ 28 มีนาคม 2560 - 15 กันยายน 2562) กำหนดส่งมอบงานและการจ่ายเงินออกเป็น 6 งวด
- ที่ปรึกษาได้ดำเนินโครงการและส่งมอบงานแล้ว 5 งวด ซึ่งสำนักงานฯ ได้ตรวจรับงานและเบิกจ่ายค่าจ้างให้กับที่ปรึกษาไปแล้ว จำนวนทั้งสิ้น 37,789,699.50 บาท
- สำนักงานสถิติแห่งชาติได้ขยายระยะเวลาดำเนินโครงการฯ จากสิ้นสุดในวันที่ 15 กันยายน 2562 เป็นสิ้นสุดในวันที่ 30 มิถุนายน 2563
- มีงบประมาณที่เบิกจ่ายไม่ทันในเดือนกันยายน 2562 รวมทั้งสิ้น 8,864,250.50 บาท ประกอบด้วย
• ค่าจ้างงวดที่ 6(งวดสุดท้าย)จำนวน 4,665,395บาท
• เงินประกันผลงานจำนวน 4,198,855.50 บาท |
- สำนักงานฯ ได้ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 จำนวน8,864,250.50 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการต่อไป |
2. การจัดซื้ออุปกรณ์เก็บรวบรวมข้อมูล (เครื่อง Tablet และอุปกรณ์สำรองไฟ) |
- สำนักงานสถิติแห่งชาติได้ดำเนินการจัดชื้อเครื่อง Tablet และอุปกรณ์สำรองไฟ จำนวน 20,561 ชุดด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) เป็นเงิน 118,691,457 บาท |
- ดำเนินการแล้วเสร็จ |
3. การวางแผนและเตรียมงานในการดําเนินงาน |
- สำนักงานสถิติแห่งชาติและที่ปรึกษาได้ดำเนินการวางแผนการดําเนินงานโครงการ ออกแบบรายการข้อถามออกแบบกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูล และการสำรวจล่วงหน้า (Pilot survey) |
- ดำเนินการแล้วเสร็จ |
4. การเก็บรวบรวมข้อมูลโครงสร้างพื้นฐาน |
- สำนักงานสถิติแห่งชาติและที่ปรึกษาได้ดำเนินการประชุมชี้แจง/จัดการอบรมก่อนการเก็บรวบรวมข้อมูลให้กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในระดับต่าง ๆ เก็บรวบรวมข้อมูล สังเกตุการณ์การปฏิบัติงานเก็บรวบรวมข้อมูล และควบคุมคุณภาพข้อมูล |
- ดำเนินการแล้วเสร็จ |
5. การประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล |
- ที่ปรึกษาโครงการ อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูลจากการสำรวจ (Cleansing Data)การจัดการข้อมูลสูญหาย (Missing Data)เพื่อนำไปวิเคราะห? และจัดทํารายงานผลการสํารวจ/นําเสนอผลข้อมูล รวมทั้งการจัดการอบรมและการประชุมชี้แจงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง |
- อยู่ระหว่าง ดำเนินการ (จะแล้วเสร็จภายใน 30 มิถุนยายน 2563) |
งบประมาณผลการเบิกจ่ายงบประมาณ ณ วันที่ 30 กันยายน 2562 ดังนี้
งบประมาณ |
ครม. อนุมัติ
(17 มี.ค. 58) |
ได้รับการจัดสรร (บาท) |
เบิกจ่าย (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
เบิกจ่ายไม่แล้วเสร็จ (บาท) |
งบดำเนินงาน |
424,000,000.00 |
436,052,900.00 |
348,052,267.12 |
88,000,632.88 |
- |
งบลงทุน |
237,150,000.00 |
195,329,500.00 |
118,691,457.00 |
76,638,043.00 |
- |
รายจ่ายอื่น |
50,300,000.00 |
46,963,500.00 |
37,789,699.50 |
9,173,800.50 |
8,864,250.50 |
รวม |
711,450,000.00 |
678,345,900.00 |
504,533,423.62 |
173,812,476.38 | |
ปัญหาอุปสรรค
(1) ด้านการจัดหา Tablet และอุปกรณ์สำรองไฟ จำนวน 20,561 เครื่อง โดยในกิจกรรมนี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติใช้
เวลาประมาณ 2 ปี (ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2559 จนถึงวันที่ 3 ธันวาคม 2561) ซึ่งมีความล่าช้าจากแผนงาน
ประมาณ 12 เดือน ทำให้เกิดผลกระทบต่อการดำเนินการในขั้นตอนอื่น ๆ โดยเฉพาะการจัดการอบรม การเก็บ
รวบรวมข้อมูลภาคสนาม และการประมวลผลข้อมูล
(2) ด้านการบริหารจัดการโครงการ โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติได้ดำเนินการจ้างเจ้าหน้าที่อื่น เพื่อปฏิบัติงานเก็บ
รวบรวมข้อมูล ทำให้มีจำนวนเครื่อง Tablet ไม่เพียงพอต่อจำนวนเจ้าหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูล อีกทั้งเป็นการเก็บ
รวบรวมข้อมูลในฤดูฝน (พฤษภาคม - สิงหาคม 2562) ทำให้การเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นไปด้วยความลำบาก
(3) ด้านบุคลากร เนื่องจากเป็นโครงการใหม่ จึงประสบปัญหาในการสื่อสารเพื่อทำความเข้าใจและการถ่ายทอด
องค์ความรู้ให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้องได้อย่างทั่วถึง อีกทั้งการดำเนินโครงการนี้จะการเก็บข้อมูลด้วยเครื่อง
Tablet ซึ่งเจ้าหน้าที่เก็บข้อมูลบางกลุ่มยังขาดทักษะในด้านนี้ ซึ่งสำนักงานสถิติจังหวัดต้องกำกับและติดตาม
การดำเนินงานอย่างใกล้ชิด เพื่อตรวจสอบความถูกต้องและสมบูรณ์ของข้อมูล
(4) ด้านงบประมาณ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการส่วนใหญ่จะเป็นงบดำเนินงานสำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลภาค
สนาม แต่จากการสังเกตุการณ์การเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามพบว่า เจ้าหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลส่วนใหญ่เห็นว่า
การเก็บข้อมูลเป็นงานที่มีความยากยุ่งยากและได้รับค่าตอบแทนน้อยจึงมีการลาออกในระหว่างปฏิบัติงาน
(5) อื่น ๆ การดำเนินโครงการยังขาดการประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานและประชาชนทั่วไปได้รับทราบถึงวัตถุประสงค์
ของโครงการ การดำเนินงาน และประโยชน์ที่จะได้รับ เพื่อให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง
ข้อเสนอแนะ
(1) การดำเนินโครงการขนาดใหญ่ ควรเสริมสร้างความรู้/ความเข้าใจให้กับบุคลากรและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง โดย
การประชุม/อบรม/สัมมนา รวมทั้งจัดตั้งคณะทำงาน/คณะทำงานย่อย เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ
ตั้งแต่เริ่มจัดทำโครงการ เพื่อให้บุคลากรทุกระดับมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
(2) ควรสื่อสารและประชาสัมพันธ์โครงการผ่านสื่อต่าง ๆ และสำนักงานสถิติแห่งชาติควรจัดให้มีเวทีการนำเสนอ
ผลงานวิชาการ/สถิติสัญจร/สถิติพบปะประชาชน เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้ตระหนักถึงความสำคัญของการให้
ข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อให้มีข้อมูลสำหรับใช้พัฒนาประเทศต่อไป
(3) ควรเสริมสร้างเครือข่ายสถิติในระดับพื้นที่ เพื่อสนับการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่
ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ