ครัวเรือนฐานราก พ.ศ. 2566

62 ครัวเรือนฐานราก พ . ศ . 2566 จากข้อมูลการติดตามการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่ฐานรากชี้ให้เห็นว่า ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา (ปี 2556-2566) กลุ่มครัวเรือนฐานรากยังคงเป็นกลุ่มเดียว ที่มีรายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ส่งผลให้มีอัตราการเติบโตของหนี้สูงกว่าการเติบโต ของรายได้ ทั้งนี้จากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในมิติต่าง ๆ ทำ าให้มี ข้อสังเกตในเชิงนโยบาย ดังนี้ 1. ครัวเรือนฐานราก เป็นกลุ่มครัวเรือนที่มีภาระค่าใช้จ่ายสูงกว่ารายได้ ที่ได้รับ โดยค่าใช้จ่ายเกือบร้อยละ 50 เป็นค่าใช้จ่ายหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งเป็น ค่าใช้จ่ายที่สำ าคัญต่อการดำ ารงชีวิต โดยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ภาครัฐได้ช่วยเหลือ บรรเทาภาระค่าใช้จ่ายส่วนนี้ ผ่านโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งควรนำ าข้อมูล การใช้จ่ายผ่านบัตรสวัสดิการของผู้ถือบัตรฯ มาศึกษาวิเคราะห์เพื่อนำ ามาวางแผน และปรับปรุงนโยบายความช่วยเหลือให้ครอบคลุมและตรงจุดมากยิ่งขึ้น 2. กลุ่มครัวเรือนฐานรากมีอัตราการเพิ่มขึ้นของรายได้ที่มาจากเงินช่วยเหลือ ถึง 1 ใน 5 ของรายได้ทั้งหมด เนื่องจากภาครัฐมีนโยบายเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือ ผ่านโครงการสวัสดิการต่าง ๆ เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามการให้ความช่วยเหลือนี้มักถูกจัดสรร ให้ตามสถานการณ์เศรษฐกิจที่ครัวเรือนฐานรากต้องการได้รับความช่วยเหลือ ซึ่งถือเป็น นโยบายที่ช่วยพยุงเศรษฐกิจของครัวเรือนฐานรากได้อีกทาง แต่มักเป็นเพียงความช่วย เหลือในระยะสั้นเท่านั้น ทั้งนี้ ภาครัฐควรมุ่งเน้นและผลักดันนโยบายที่กระตุ้นรายได้ ของกลุ่มครัวเรือนฐานรากในด้านอื่น ๆ ที่ไม่เพียงเฉพาะด้านรายได้จากเงินช่วยเหลือ ให้มากขึ้นด้วย เพราะจะเป็นการช่วยลดการพึ่งพึงและเป็นการแก้ไขปัญหาในระยะยาว ควบคู่ไปด้วย การพัฒนานโยบายเพื่อรับมือกับกระแสเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปจึงเป็น สิ่งท้าทายอย่างมากที่ภาครัฐต้องเร่งดำ าเนินการ ควรมีนโยบายที่ช่วยกระตุ้นรายได้ โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรและประมงซึ่งเป็นคนกลุ่มใหญ่ในกลุ่มครัวเรือนฐานรากให้มี ทักษะและความยืดหยุ่น ล้มแล้วสามารถลุกขึ้นได้ไว สามารถรับมือกับวิกฤตเศรษฐกิจ ที่จะเกิดขึ้นได้ ซึ่งในยุคที่มีเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่ก้าวหน้าขึ้นเช่นในปัจจุบันนี้

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==