เขตเศรษฐกิจพิเศษประเทศไทย พ.ศ. 2568

เขตเศรษฐกิจพิเศษประเทศไทย พ.ศ. 2568 78 ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Northeastern Economic Corridor: NeEC) การเติบโตทางเศรษฐกิจของระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (NeEC) ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ NeEC ครอบคลุม 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย และนครราชสีมา มีเป้าหมายพัฒนาเป็น ศูนย์กลางอุตสาหกรรมชีวภาพแห่งใหม่ของประเทศ (NeEC-Bioeconomy) โดยใช้เทคโนโลยี สมัยใหม่ตลอดห่วงโซ่การผลิต เป็นแนวคิดภายใต้โมเดล Bio-Circular-Green Economy (BCG) ที่หลายประเทศน� ามาปรับใช้เป็นแนวทางในการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร ผ่านการใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม ตลอดจนการใช้ทรัพยากรในรูปแบบ ZeroWaste ที่จะช่วยลด ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยในระยะแรก มุ่งเน้น 2 อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ 1. อุตสาหกรรมชีวภาพ –พัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่ปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 2. อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร – ส่งเสริมการลงทุนและใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ นอกจากนี้ ยังเน้นพัฒนาบุคลากรด้านเกษตรและอุตสาหกรรมชีวภาพ สนับสนุน การตลาด และประชาสัมพันธ์ การพัฒนา NeEC จะช่วยกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค สร้างเอกลักษณ์ให้พื้นที่ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (Gross Provincial Product : GPP) ของกลุ่มจังหวัด NeEC ณ ราคาประจ� าปี พ.ศ. 2565 มีมูลค่า 719,693 ล้านบาท มีสัดส่วนร้อยละ 41.0 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภาค (Gross Regional Product : GRP) ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และคิดเป็นร้อยละ 4.1 ของ GDP ในปี 2565 ส� าหรับอัตราการขยายตัวของ GPP กลุ่ม NeEC มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.4 จากปีก่อนหน้า (ปี 2564) และมี GPP เฉลี่ยต่อประชากรสูงถึง 121,806 บาท ส� าหรับโครงสร้างเศรษฐกิจของกลุ่ม NeEC ประกอบด้วย ภาคการเกษตรที่มีมูลค่า 104,608 ล้านบาท (ร้อยละ 14.5 ของ GPP) และนอกภาคการเกษตร มูลค่า 615,085 ล้านบาท (ร้อยละ 85.5 ของ GPP) โดยมีภาคบริการเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ มีมูลค่าสูงถึง 388,126 ล้านบาท (ร้อยละ 53.9 ของ GPP) และส� าหรับภาคอุตสาหกรรม มีมูลค่า 266,959 ล้านบาท (ร้อยละ 31.6 ของ GPP)

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==