เขตเศรษฐกิจพิเศษประเทศไทย พ.ศ. 2568
The Thailand Special Economic Zones 2025 175 หากพิจารณา GPP ของเขตเศรษฐกิจพิเศษจ� าแนกตามสาขาการผลิตในแต่ละ เขตเศรษฐกิจพิเศษในปี 2565 จะพบว่าพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลาง-ตะวันตก (CWEC) มี ภาคอุตสาหกรรม เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ส่วนระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (NEC) ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (NeEC) ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน (SEZs) มี ภาคการบริการ เป็ นแกนหลัก ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ส� าหรับ GPP ภาคการเกษตร มีสัดส่วนสูงที่สุดในพื้นที่ระเบียง เศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) รองลงมาเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน (SEZs) เมื่อพิจารณาผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อหัวประชากร (GPP Per Capita) ปี2565 ในเขตเศรษฐกิจพิเศษทั้ง 6กลุ่มจะพบว่าพื้นที่ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) มีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อหัวประชากรสูงที่สุด (686,131 บาทต่อปี) แต่กลับ พบว่าพื้นที่ เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน (SEZs) มีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ต่อหัวประชากรน้อยที่สุด (112,302 บาทต่อปี) ซึ่งมีค่าความแตกต่างกันถึง 6.1 เท่า แผนภูมิ 7.2 ผลิตภัณฑ์มวลรวมเฉลี่ยต่อหัว พ.ศ. 2565 หมายเหตุ : ค่ารายปีที่ได้จากการประมวลผลข้อมูลเบื้องต้น (Preliminary) ที่มา : ส� านักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประมวลผลพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษโดยส� านักงานสถิติแห่งชาติ บาท 686,131 128,762 121,806 262,933 158,343 112,302 0 100,000 200,000 300,000 400,000 500,000 600,000 700,000 800,000 EEC NEC NeEC CWEC SEC SEZs
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==