เขตเศรษฐกิจพิเศษประเทศไทย พ.ศ. 2568
The Thailand Special Economic Zones 2025 203 ควรมีการพัฒนาใน 4 มิติหลักประกอบกับความพร้อมในมิติอื่นๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศ อย่างยั่งยืน ได้แก่ มิติด้านเศรษฐกิจ, มิติด้านแรงงาน, มิติด้านประชากร และมิติด้านเทคโนโลยีดิจิทัล โดยควรมีการพัฒนาดังนี้ มิติด้านเศรษฐกิจ ระดับมหภาค : กระจายการลงทุนอย่างสมดุลส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมายเฉพาะทาง ในแต่ละเขตเศรษฐกิจพิเศษ, พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์, การบูรณาการ เศรษฐกิจภูมิภาคกับเศรษฐกิจโลกพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษให้เป็นฮับการค้าการลงทุน ระดับภูมิภาค ผ่านข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ,การพัฒนาก� าลังคนรองรับ อุตสาหกรรมเป้าหมาย, การพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม น� าหลักการ BCG Economy (Bio-Circular-Green Economy) มาประยุกต์ใช้ ในแต่ละเขต ระดับครัวเรือน : การกระจายรายได้และลดความเหลื่อมล�้ าส่งเสริมการจ้างงานในท้องถิ่น, ส่งเสริม SMEs, ยกระดับภาคเกษตร พัฒนาไปสู่เกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming), พัฒนาสาธารณูปโภค โครงสร้างพื้นฐานเพื่อคุณภาพชีวิต, การเสริมสร้างความเข้มแข็ง ของชุมชนท้ องถิ่นสนับสนุนการท่ องเที่ยวชุมชนและสินค้ าท้ องถิ่นให้ เข้ ากับ แนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์, สร้างกลไกติดตามผลและประเมินผลกระทบทางสังคม มิติด้านแรงงาน พัฒนาแรงงานให้ตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรมในแต่ละเขต, คุ้มครองสิทธิ แรงงานและสวัสดิการก� าหนดมาตรฐานค่าจ้างและสวัสดิการให้เป็นธรรม ทั้งแรงงานไทย และแรงงานข้ามชาติ, จัดระเบียบแรงงานข้ามชาติให้ถูกต้องตามกฎหมาย และอ� านวย ความสะดวกในการขึ้นทะเบียนแรงงาน มิติด้านประชากร ศึกษาและวางแผนการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากร, สนับสนุนมาตรการ จูงใจให้คนรุ่นใหม่ วัยท� างาน กลับมาท� างานในท้องถิ่น ลดปัญหาสมองไหล, ปรับปรุง หลักสูตรในระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษาให้ตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรม เป้าหมายในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ, สนับสนุนให้มหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษา ในพื้นที่เปิดหลักสูตรที่เชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ, จัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมและสถาบันการศึกษาให้เชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่, สนับสนุนโครงการพัฒนาแรงงานที่ให้โอกาสแก่แรงงานที่มีการศึกษาต�่ าหรือเปลี่ยนสายงาน, ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา, การส่งเสริมโอกาส ทางการศึกษาให้กับประชากรทุกกลุ่มการลดความเหลื่อมล�้ าในการเข้าถึงการศึกษา มิติด้าน เทคโนโลดิจิทัล พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล เช่น 5G, AI, IoT, Blockchain และ Smart City, ส่งเสริมทักษะด้านดิจิทัลให้แก่ประชากรและแรงงานในพื้นที่ การพัฒนาที่สอดคล้องกับศักยภาพของแต่ละเขตเศรษฐกิจพิเศษ อย่างสมดุลระหว่าง การเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรในพื้นที่จะช่วยให้เกิด การพัฒนาอย่างยั่งยืนในระยะยาว และประเทศไทยเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของอาเซียนในอนาคต ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษของไทย ทั้ง 6 กลุ่ม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==