เขตเศรษฐกิจพิเศษประเทศไทย พ.ศ. 2568
The Thailand Special Economic Zones 2025 15 ส� าหรับพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (Southern Economic Corridor) เป็นพื้นที่แรก ตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติฉบับที่ผ่านมา ที่ถูกก� าหนดเป็นพื้นที่ พัฒนาตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2561 มีเป้าหมายสร้างพื้นที่เศรษฐกิจ ใหม่และพัฒนาทางออกสู่ทะเลของภาคใต้ตอนบน โดยเน้นการใช้ทรัพยากรในพื้นที่ร่วมกับ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ผสานกับความได้เปรียบด้านที่ตั้ง ควบคู่กับการอนุรักษ์และฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 10 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2566–2580) (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) โดยได้มีการก� าหนดพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาค ดังนี้ 10 จาก การพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (SEC) อย่างยั่งยืน, โดย ส� านักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2561, เข้าถึงเมื่อ 17 ตุลาคม 2567, จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_news.php?nid=8026&filename=index 1 2 3 4 ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (NEC) พัฒนาเป็นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เช่น เมืองสร้างสรรค์ สินค้าและ บริการสร้างแบรนด์ และการส่งเสริมบุคลากรด้านสร้างสรรค์ ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (NeEC) มุ่งเน้นเป็นฐานอุตสาหกรรมชีวภาพ ด้วยเทคโนโลยีทันสมัย เชื่อมโยง เกษตรและอุตสาหกรรมชีวภาพ เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรสู่เศรษฐกิจ ชีวภาพ หมุนเวียน และสีเขียว ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลาง-ตะวันตก (CWEC) พัฒนาเป็นฐานเศรษฐกิจด้านอุตสาหกรรมเกษตร การท่องเที่ยว และ อุตสาหกรรมไฮเทค เชื่อมโยงกับกรุงเทพฯ และเขตพัฒนาภาคตะวันออก ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) เป็นศูนย์กลางการค้าและโลจิสติกส์ เชื่อมอ่าวไทยและอันดามัน พัฒนา อุตสาหกรรมชีวภาพ การแปรรูปเกษตร และการท่องเที่ยวคุณภาพ ระดับสากล
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==