เขตเศรษฐกิจพิเศษประเทศไทย พ.ศ. 2568

เขตเศรษฐกิจพิเศษประเทศไทย พ.ศ. 2568 26 กำรพัฒนำเขตเศรษฐกิจพิเศษประเทศไทย การศึกษาสถานการณ์เขตเศรษฐกิจพิเศษของประเทศไทยใน 4 มิติส� าคัญ ได้แก่ 1. มิติด้านแรงงาน 2. มิติด้านเศรษฐกิจ 3. มิติด้านประชากร 4. มิติด้านเทคโนโลยีดิจิทัล การศึกษานี้มุ่งวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงและสถานการณ์ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจ พิเศษ 6 กลุ่มหลัก โดยใช้ข้อมูลสถิติจากการส� ารวจของส� านักงานสถิติแห่งชาติ และ แหล่งข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อน� ามาบูรณาการและอธิบายสถานการณ์ในพื้นที่เหล่านี้อย่างลึกซึ้ง ผลจากการศึกษาจะช่วยสะท้อนสถานการณ์ของเขตเศรษฐกิจพิเศษในทุกมิติ รวมถึงเป็น แนวทางสนับสนุนการพัฒนาให้สอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น เขตเศรษฐกิจพิเศษ 1. เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC ) ประกอบด้วย ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง 2. ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (Northern Economic Corridor: NEC ) ประกอบด้วย ล� าปาง ล� าพูน เชียงราย และเชียงใหม่ 3. ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Northeastern Economic Corridor: NeEC ) ประกอบ ด้วย ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย และนครราชสีมา 4. ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลาง-ตะวันตก (Central- Western Economic Corridor: CWEC ) ประกอบด้วย พระนครศรีอยุธยา นครปฐม สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี 5. ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (Southern Economic Corridor: SEC ) ประกอบด้วย ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช 6. เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน (Special Economic Zones: SEZs ) ประกอบด้วย ตาก สงขลา สระแก้ว ตราด หนองคาย นครพนม มุกดาหาร เชียงราย กาญจนบุรี และ นราธิวาส มิติการพัฒนา 4 ด้าน เขตเศรษฐกิจพิเศษ 6 กลุ่ม มิติด้านแรงงาน มิติด้านเศรษฐกิจ มิติด้านประชากร มิติด้านเทคโนโลยีดิจิทัล 1 2 3 4 อนึ่ง ในการน� าเสนอข้อมูลในตารางสถิติ แผนภูมิ และแผนภาพ ผลรวมของแต่ละ จ� านวนอาจไม่เท่ากับยอดรวม อันเนื่องมาจากข้อมูลแต่ละจ� านวนมีการปัดเศษโดยอิสระจากกัน

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==