NSO

FAQ

0

หน้าแรก / ชุมชนและคำถาม / FAQ
  • ประเทศไทยมีมูลค่าสินค้าขาเข้าและสินค้าขาออกจากต่างประเทศเป็นจำนวนเท่าไร (available only Thai version)

    พ.ศ.2566
                 มูลค่าสินค้าขาเข้า = 10,111,933  ล้านบาท 
                 มูลค่าสินค้าขาออก = 9,809,007 ล้านบาท  

    ที่มา: กรมศุลกากร (ประมวลผลโดยธนาคารแห่งประเทศไทย)
             (https://app.bot.or.th/BTWS_STAT/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=50&language=TH)

  • ประเทศไทยมีดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเป็นอย่างไร (เมื่อเทียบกับปีฐาน 2562 = 100) (available only Thai version)

    ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป 2566   = 107.80,
    ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน 2563 = 104.40

    ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย
             (https://app.bot.or.th/BTWS_STAT/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=409&language=TH)

  • ประเทศไทยมีวงเงินงบประมาณรายจ่ายทั้งสิ้นเท่าไร (available only Thai version)

    พ.ศ.2567 มีวงเงินงบประมาณรายจ่าย = 3,480,000 ล้านบาท 

    ที่มา : สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี 

  • ประเทศไทยมีอัตราการฟังวิทยุ-ชมโทรทัศน์เท่าไร (available only Thai version)

    พ.ศ. 2566 การฟังวิทยุ อัตราร้อยละ 30.8 การชมโทรทัศน์ อัตราร้อยละ 87.9 

    ที่มา : สำรวจการรับฟัง/รับชมรายการ ของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย และสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2566
             กรมประชาสัมพันธ์ร่วมกับสำนักงานสถิติแห่งชาติ (https://plan.prd.go.th/th/content/category/detail/id/1930/cid/2067/iid/188182)

  • ปัจจุบันมีสถิติอุบัติเหตุที่เกิดจาการขับรถเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด จำนวนเท่าไร (available only Thai version)

    พ.ศ. 2564 สถิติอุบัติเหตุที่เกิดจากการขับรถเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดมีจำนวน = 10,442 ครั้ง 
    ที่มา : กรมการขนส่งทางบก (https://web.dlt.go.th/statistics/)

  • ประเทศไทยมีสถิติการรับแจ้งและจับกุมคดีอาญา จำนวนเท่าไร (available only Thai version)

    พ.ศ. 2566
                 มีสถิติการรับแจ้งคดีอาญา จำนวน 742,012 คดี
                 จับกุมได้ จำนวน 691,539 คดี 

    ที่มา: กองแผนงานอาชญากรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (http://thaicrimes.org/crimestat/)

  • จำนวนคดีอาชญากรรม จำนวนเท่าไร (available only Thai version)

    ปี 2566
              จำนวนคดีอาชญากรรม = 742,012 คดี โดยแบ่งเป็น 
              1. ความผิดเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย และเพศ = 17,848 คดี 
              2. ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ = 58,765 คดี 
              3. ฐานความผิดพิเศษ = 18,792 คดี 
              4. คดีความผิดที่รัฐเป็นผู้เสียหาย = 593,450 คดี 
                  - ฐานความผิดโจรกรรมรถยนต์ = 106 คดี
                  - ฐานความผิดโจรกรรมรถจักรยานยนต์ = 945 คดี 
                  - ฐานความผิดฉ้อโกงที่กระทำผ่านระบบคอมพิวเตอร์ = 8,959 คดี
                  - ฐานความผิดการพนันที่กระทำผ่านระบบคอมพิวเตอร์ = 1,833 คดี

    ที่มา : กองแผนงานอาชญากรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (http://thaicrimes.org/crimestat/)

  • ประเทศไทยมีจำนวนโรงแรม/เกสต์เฮ้าส์และห้องพัก เท่าไร (available only Thai version)

    พ.ศ. 2565
                   มีจำนวนโรงแรม/เกสต์เฮ้าส์ = 30,786 แห่ง 
                  และจำนวนห้องพัก              = 956,372 แห่ง 

    ที่มา: สำรวจที่พักแรม พ.ศ. 2565 สำนักงานสถิติแห่งชาติ
            (https://www.nso.go.th/nsoweb/nso/survey_detail/MD)

  • ประเทศไทยมีการใช้คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือ จำนวนเท่าไร (available only Thai version)

    ไตรมาส 4/2566

    ครัวเรื่อนที่มีคอมพิวเตอร์ 5,424,800 ครัวเรือน

    ผู้ใช้อินเตอร์เน็ต 58,956,800 คน  

    ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ 62,874,000 คน  

    ที่มา: สำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2566 (ไตรมาส 4) สำนักงานสถิติแห่งชาติ
             (https://www.nso.go.th/nsoweb/nso/survey_detail/jJ)

  • อัตราเงินเฟ้อของประเทศไทยเป็นอย่างไร (เมื่อเทียบกับปีฐาน 2562=100) (available only Thai version)

    อัตราเงินเฟ้อ 2566
    อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน = 0.13%  
    อัตราเงินเฟ้อทั่วไป = 0.12% 

    ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย
              (https://app.bot.or.th/BTWS_STAT/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=409&language=TH)

  • มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศและมูลค่าผลิตภัณฑ์เฉลี่ยต่อคนของประเทศไทยเป็นเท่าไร (available only Thai version)

    พ.ศ. 2565 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ = 17,378,017 ล้านบาท 
                     มูลค่าผลิตภัณฑ์เฉลี่ยต่อคน = 248,787 บาท 

    ที่มา : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
             (https://www.nesdc.go.th/ewt_news.php?nid=14644&filename=ni_page)

  • ประเทศไทยมีค่าสัมประสิทธิ์ของความไม่เสมอภาคหรือดัชนีจินี (Gini Coefficient) เท่าไร (available only Thai version)

    พ.ศ. 2564 ค่าสัมประสิทธิ์ของความไม่เสมอภาคหรือดัชนีจินี (Gini Coefficient) มีค่าเท่ากับ  0.310
    ที่มา : การสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2564 สำนักงานสถิติแห่งชาติ
              (https://www.nso.go.th/nsoweb/nso/survey_detail/qC)

  • ประเทศไทยมีจำนวนคนจน เท่าไร (available only Thai version)

    พ.ศ.2565 จำนวนคนจน = 3,792,615 คน 
    ที่มา: ข้อมูลจากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน สำนักงานสถิติแห่งชาติ,        
             ประมวลผลโดย สำนักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ                   
             (https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=social)

  • ครัวเรือนไทยมีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนจำนวนเท่าไร (available only Thai version)

    พ.ศ. 2564  รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือน      = 27,352   บาท 
                       รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อเดือน              = 9,817     บาท
                       หนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือน                  = 205,679 บาท  
                       ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือน = 21,616   บาท 
                       ค่าใช้จ่ายต่อคนต่อเดือน                 = 7,758    บาท 
    ที่มา: การสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน สำนักงานสถิติแห่งชาติ

  • ประเทศไทยมีครัวเรือนจำนวนเท่าไร (available only Thai version)

    พ.ศ. 2565 มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด = 23,577,782 ครัวเรือน 
    ที่มา: สำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ.2565 สำนักงานสถิติแห่งชาติ (https://www.nso.go.th/nsoweb/nso/statistics_and_indicators)

  • กองทุนประกันสังคมมีจำนวนผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม เท่าไร (available only Thai version)

    พ.ศ. 2566 มีผู้ประกันตนตามมาตรา 33 = 11,890,917 คน 
                                 มีผู้ประกันตนตามมาตรา 39 = 1,797,848 คน  
    ที่มา : สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน 
    หมายเหตุ : มาตรา 33 ให้ลูกจ้างซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบห้าปีบริบูรณ์และไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์เป็นผู้ประกันตน ลูกจ้าง ซึ่งเป็นผู้ประกันตนอยู่แล้วตามวรรคหนึ่ง เมื่อมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ และยังเป็นลูกจ้างของนายจ้างซึ่งอยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัตินี้ 
    มาตรา 39 ผู้ใดเคยเป็นผู้ประกันตนตาม มาตรา 33 โดยจ่ายเงินสมทบมาแล้ว ไม่น้อยกว่าสิบสองเดือน และต่อมาความเป็นผู้ประกันตนได้สิ้นสุดลงตาม (www.sso.go.th/wpr/main/knowledge/ข้อมูลสถิติกองทุนประกันสังคม_category_list-label_1_168_0)

  • จำนวนประชากรหรือผู้มีงานทำ ที่มีความต้องการพัฒนาขีดความสามารถมีเท่าไร (available only Thai version)

    พ.ศ. 2564 มีจำนวนประชากรที่มีความต้องการพัฒนาขีดความสามารถจำนวน 5,327,448 คน 
    แบ่งเป็น ชาย = 2,478,785 คน หญิง = 2,848,664 คน  
    ที่มา: สำรวจความต้องการพัฒนาขีดความสามารถของประชากร พ.ศ. 2564 สำนักงานสถิติแห่งชาติ (https://www.nso.go.th/nsoweb/nso/survey_detail/Jp)

  • ในปัจจุบันลูกจ้างได้รับค่าจ้างเฉลี่ยเดือนละเท่าไร (available only Thai version)

    ไตรมาส 4/2566 ค่าจ้างเฉลี่ยเดือนละ 15,382 บาท 
    ที่มา : การสำรวจภาวะการทำงานของประชากร สำนักงานสถิติแห่งชาติ (https://www.nso.go.th/nsoweb/nso/survey_detail/9u)

  • ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายให้ลูกค้า มีจำนวนเท่าไร (available only Thai version)

     พ.ศ. 2565
                จำหน่ายน้ำมัน เบนซิน ออกเทน 91 ประมาณ 172,601.22 พันลิตร 
                และน้ำมันเบนซิน ออกเทน 95 / น้ำมันเบนซิน = 191,547.89 พันลิตร 

    หมายเหตุ : ตั้งแต่มกราคม 2556 น้ำมันเบนซิน ออกเทน 95 คือ น้ำมันเบนซิน ตามประกาศกรมธุรกิจพลังงาน  

    ที่มา : กรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน (https://www.doeb.go.th/th/statistic/procurement)

  • ปัจจุบันอัตราการว่างงานของประเทศไทยเป็นอย่างไร (available only Thai version)

    ไตรมาส 4/2566 อัตราการว่างงาน  0.8  % 
    ที่มา: การสำรวจภาวะการทำงานของประชากร สำนักงานสถิติแห่งชาติ (https://www.nso.go.th/nsoweb/nso/survey_detail/9u)

  • ปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนผู้มีงานทำประมาณเท่าไร (available only Thai version)

    ไตรมาส 4/ 2566 จำนวนผู้มีงานทำ  40,250,129 คน  
    ที่มา:  การสำรวจภาวะการทำงานของประชากร สำนักงานสถิติแห่งชาติ (https://www.nso.go.th/nsoweb/nso/survey_detail/9u)

  • อัตราการเกิดมีชีพของประชากรไทยมีจำนวนเท่าใด (available only Thai version)

    พ.ศ. 2565 อัตราการเกิดมีชีพ 7.4 ต่อประชากร 1,000 คน  
    ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข (https://spd.moph.go.th/public-health-statistics/)

  • คนไทยเสียชีวิตเนื่องจากสาเหตุใดมากที่สุด (available only Thai version)

    พ.ศ. 2565 จำนวนผู้เสียชีวิต = 584,854 คน 
    ซึ่งมีสาเหตุจากมะเร็งและเนื้องอกทุกชนิดมากที่สุด = 83,334  คน  
    ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข (https://spd.moph.go.th/public-health-statistics/)

  • จังหวัดใดมีจำนวนการตายมากที่สุด (available only Thai version)

    พ.ศ. 2566 กรุงเทพฯ มีจำนวนการตายมากที่สุด คือ 49,268 คน 
    ที่มา : กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย (ข้อมูลจากการทะเบียนราษฎร์) (https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMenu/newStat/home.php)

  • จำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลสาธารณสุขเท่าไร (available only Thai version)

    พ.ศ. 2565 มีจำนวนผู้ป่วยใน = 21,613,319 คน ผู้ป่วยนอก = 202,374,470 คน 
    ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข (https://spd.moph.go.th/illness-report/)

  • ประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุจำนวนเท่าใด (available only Thai version)

    ปี 2566 มีประชากรสูงอายุ จำนวน 13,193,217 คน (ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป) 
    ที่มา : กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย (ข้อมูลจากการทะเบียนราษฎร์) (https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMenu/newStat/home.php)

  • จำนวนนักเรียน นิสิต นักศึกษา ในสถานศึกษาของรัฐบาลและเอกชนมีจำนวนเท่าไร (available only Thai version)

    พ.ศ. 2565 มีจำนวนนักเรียน นิสิต นักศึกษา ในสถานศึกษาทั้งสิ้น 12,485,783 คน โดยแบ่งเป็น 
    - รัฐบาล มีจำนวนทั้งสิ้น 9,836,607 คน 
    - เอกชน มีจำนวนทั้งสิ้น 2,649,176 คน 
    ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ (https://www.moe.go.th/education-statistics/)

  • จำนวนประชากรของกรุงเทพมหานครมีจำนวนเท่าใด (available only Thai version)

    พ.ศ. 2566 กรุงเทพฯ มีประชากร 5,471,588 คน 
    โดยแบ่งเป็น ชาย = 2,555,426 คน หญิง = 2,916,162 คน  
    ที่มา : กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย (ข้อมูลจากการทะเบียนราษฎร์) (https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMenu/newStat/home.php)

  • ประเทศไทยมีประชากรจำนวนเท่าใด (available only Thai version)

    พ.ศ. 2566 ประเทศไทยมีประชากร 66,052,615 คน 
    ที่มา : กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย (ข้อมูลจากการทะเบียนราษฎร์) (https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMenu/newStat/home.php)

  • แผนที่ความยากจน (Poverty Maps) คืออะไร (available only Thai version)

    • แผนที่ความยากจนเป็นข้อมูลเชิงพื้นที่ที่จะบอกสถานะทางเศรษฐกิจ ภาวะความยากจน และการกระจายรายได้ของครัวเรือน ตั้งแต่จังหวัด อำเภอ และตำบล ซึ่งสามารถนำเสนอในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS) จัดสร้างขึ้นโดยการเชื่อมโยงข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน และข้อมูลสำมะโนประชากรและเคหะเข้าด้วยกัน โดยใช้วิธีการ Small Area Estimation ของธนาคารโลก และใช้วิธีการทางสถิติและเศรษฐมิติ 
    • แผนที่ความยากจนเป็นเครื่องมือที่สำคัญ สำหรับภาครัฐ ที่จะใช้ในการกำหนดนโยบาย วางแผนงาน ติดตามและประเมินผล โดยจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานในระดับนโยบายได้ทราบถึงพื้นที่ที่มีความยากจน ระดับความยากจน ความรุนแรงของความยากจนในแต่ละพื้นที่ย่อย ซึ่งมีความจำเป็นต่อรัฐบาลในการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
     

  • การถือครองที่ดิน หมายถึงอะไร (available only Thai version)

    สิทธิในการครอบครองหรือใช้ที่ดินเพื่อทำการเกษตรในลักษณะต่างๆ ของผู้ถือครอง อาจเป็นเนื้อที่ของตนเอง หรือเป็นเนื้อที่ไม่ใช่ของตนเอง เช่น เป็นเจ้าของ เช่า หรือถือครองที่ดินในลักษณะอื่น ซึ่งผู้ถือครองอาจจะถือครองที่ดินในลักษณะเดียว เช่น เป็นเจ้าของอย่างเดียว หรือเช่าอย่างเดียว หรืออาจจะถือครองที่ดินมากกว่าหนึ่งลักษณะ เช่น เป็นเจ้าของและเช่า หรือเช่าและถือครองในลักษณะอื่นรวมกัน เป็นต้น​

  • ปี 2552 สำนักงานสถิติแห่งชาติ แบ่งประเภทอาชีพออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง (available only Thai version)

    การจัดประเภทมาตรฐานอุตสาหกรรมประเทศไทยปี 2552 (Thailand Standard Industrial Classification : 
    TSIC 2009 ) ฉบับปรับปรุงโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ โดยตจัดทำในระดับ 5 หลัก ให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ของประเทศ และสามารถเปรียบเทียบข้อมูลได้ โดยจัดทำขึ้นบนพื้นฐานของมาตรฐานการจัดประเภทกิจกรรมทางเศรษฐกิจฉบับสากล 3 ฉบับ ได้แก่ 
    1. International Standard Industrial Classification of All Economic Activities, Revision 4 (ISIC Rev.4) จัดทำโดย United Nations Statistics Division (UNSD) 
    2. ASEN Common Industrial Classification (ACIC) จัดทำโดยสำนักงานเลขาธิการ ASEN เพื่อใช้เป็นมาตรฐานการจัดประเภทอุตสาหกรรมของประเทศสมาชิกอาเซียน 
    3. East Asia Manufacturing Industrial Classification (EAMIC) Ver.1 จัดทำโดย EAMS Secretariat ร่วมกับสำนักงานเลขาธิการ ASEAN เพื่อใช้ในการบูรณาการข้อมูลสถิติอุตสาหกรรมของประเทศสมาชิก ASEAN+3 (ประเทศสมาชิก ASEAN รวมถึงประเทศ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) ซึ่งจัดจำแนกเป็น 21 หมวดใหญ่ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ดังนี้ 
    หมวดใหญ่ A : เกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง 
    หมวดใหญ่ B : การทำเหมืองแร่และเหมืองหิน 
    หมวดใหญ่ C : การผลิต 
    หมวดใหญ่ D : ไฟฟ้า ก๊าซ ไอน้ำ และระบบปรับอากาศ 
    หมวดใหญ่ E : การจัดหาน้ำ การจัดการ และการบำบัดน้ำเสีย ของเสีย และสิ่งปฏิกูล
    หมวดใหญ่ F : การก่อสร้าง
    หมวดใหญ่ G : การขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์ และจักรยานยนต์ 
    หมวดใหญ่ H : การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า
    หมวดใหญ่ I : ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร 
    หมวดใหญ่ K : กิจกรรมทางการเงินและการประกันภัย
    หมวดใหญ่ L : กิจกรรมด้านอสังหาริมทรัพย์ 
    หมวดใหญ่ M : กิจกรรมทางวิชาชีพ วิทยาศาสตร์ และเทคนิค
    หมวดใหญ่ N : กิจกรรมการบริหารและการบริการสนับสนุน 
    หมวดใหญ่ O : การบริหารราชการและการป้องกันประเทศ และการประกันสังคมภาคบังคับ
    หมวดใหญ่ P : การศึกษา
    หมวดใหญ่ Q : กิจกรรมด้านสุขภาพและงานสังคมสงเคราะห์
    หมวดใหญ่ R : ศิลปะ ความบันเทิง และนันทนาการ 
    หมวดใหญ่ S : กิจกรรมบริการด้านอื่นๆ
    หมวดใหญ่ T: กิจกรรมการจ้างงานในครัวเรือนส่วนบุคคล กิจกรรมการผลิตสินค้าและบริการที่ทำขี้นเอง เพื่อใช้ในครัวเรือน ซึ่งไม่สามารถจำแนกกิจกรรมได้อย่างชัดเจน
    หมวดใหญ่ U : กิจกรรมขององค์การระหว่างประเทศและภาคีสมาชิก
     
     

    ปี 2553 ถ้ามีความต้องการที่จะขอข้อมูลระดับย่อย (Micro Data) ของโครงการสำมะโน/สำรวจทางสำนักงานสถิติแห่งชาติ มีวิธีการอย่างไร

    สำนักงานสถิติแห่งชาติได้มีการจัดการแฟ้มข้อมูลระดับย่อย เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อเจ้าของข้อมูลตามพระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. 2550 มาตรา 15 และมีการกำหนดหลักเกณฑ์ของการให้บริการ โดยคำนึงถึงความสะดวก รวดเร็ว และผลกระทบต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น

    การขอใช้ข้อมูลระดับย่อยของสำนักงานสถิติแห่งชาติ มีวิธีการดังนี้ 
    * ผู้ขอรับบริการข้อมูลสถิติระดับย่อย ทำหนังสือแจ้งความประสงค์ขอใช้ข้อมูลต่อผู้อำนวยการ สำนักงานสถิติแห่งชาติ * เอกสารประกอบการพิจารณาการให้บริการข้อมูล ประกอบด้วย แผนงาน/โครงร่างงานวิจัย/ผลงานที่เคยนำข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติไปใช้ (หากมี)
    - สำหรับ นิสิต นักศึกษา ให้แนบหนังสือรับรองโครงการจากสถาบันการศึกษามาด้วย ทั้งนี้ ผู้ใช้ข้อมูลจะต้องทำสัญญา/ข้อตกลงการใช้ข้อมูลกับสำนักงานสถิติแห่งชาติ เพื่อให้เป็นตามเงื่อนไขการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์


     

     

  • ผู้มีงานทำมีคำนิยามว่าอย่างไร (available only Thai version)

    ผู้มีงานทำ หมายถึง บุคคลที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป และในระหว่าง 7 วันก่อนวันสัมภาษณ์มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ 
    1.1) ได้ทำงานตั้งแต่ 1 ชั่วโมงขึ้นไป โดยได้รับค่าจ้าง เงินเดือน ผลกำไร เงินปันผลค่าตอบแทนที่มีลักษณะอย่างอื่นสำหรับผลงานที่ทำ เป็นเงินสด หรือสิ่งของ 
    1.2) ไม่ได้ทำงาน หรือทำงานน้อยกว่า 1 ชั่วโมง แต่เป็นบุคคลที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (ซึ่งจะถือว่าเป็น ผู้ที่ปกติมีงานประจำ) ก. ยังได้รับค่าตอบแทน ค่าจ้าง หรือผลประโยชน์อื่นๆ หรือผลกำไรจากงานหรือธุรกิจในระหว่างที่ไม่ได้ทำงาน ข. ไม่ได้รับค่าตอบแทน ค่าจ้าง หรือผลประโยชน์อื่น ๆ หรือผลกำไรจากงานหรือธุรกิจในระหว่างที่ไม่ได้ทำงาน แต่ยังมีงานหรือธุรกิจที่จะกลับไปทำ 
    1.3) ทำงานอย่างน้อย 1 ชั่วโมง โดยไม่ได้รับค่าจ้างในวิสาหกิจ หรือไร่นาเกษตรของหัวหน้าครัวเรือนหรือของสมาชิกในครัวเรือน

  • ในเขตกรุงเทพมหานครมีฝนตกปริมาณเท่าไร (available only Thai version)

     พ.ศ.2564 มีปริมาณน้ำฝน = 1,696.3 มิลลิเมตร (สถานีตรวจอากาศกรุงเทพมหานคร) 
    ที่มา :กรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (https://www.nso.go.th/nsoweb/nso/statistics_and_indicators?set_lang=th)

  • อนามัยการเจริญพันธุ์ (Reproductive Health) หมายถึงอะไร (available only Thai version)

    ภาวะความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายและจิตใจที่เป็นผลสัมฤทธิ์อันเกิดจากกระบวนการและหน้าที่ของการเจริญพันธุ์ที่สมบูรณ์ของทั้งชายและหญิง ทุกช่วงอายุของชีวิต ซึ่งทำให้เขาเหล่านั้นสามารถมีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

  • อยากทราบว่าสำนักงานสถิติแห่งชาติใช้มาตรฐานใดในการแบ่งประเภท/ระดับ การศึกษา (available only Thai version)

         มาตรฐานการจัดจำแนกการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยใช้เอกสาร International Standard Classification of Education (ISCED 1997) ขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) เป็นหลักในการพิจารณา และได้นำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะ การจัดการศึกษาของประเทศ ซึ่งจัดจำแนกเป็น 9 ระดับ ประกอบด้วย
         ระดับ 1 : ระดับก่อนประถมศึกษา
         ระดับ 2 : ระดับประถมศึกษา 
         ระดับ 3 : ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 
         ระดับ 4 : ระดับมัธยมศึกษาตอนตปลาย 
         ระดับ 5 : ระดับสูงกว่ามัธยมศึกษาตอนปลาย (อนุปริญญา) 
         ระดับ 6 : ระดับปริญญาตรี
         ระดับ 7 : ระดับปริญญาโท 
         ระดับ 8 : ระดับปริญญาเอก 
         ระดับ 9 : การศึกษาอื่นๆ 

  • ครัวเรือนพิเศษ หมายถึงอะไร (available only Thai version)

    ครัวเรือนซึ่งบุคคลหลายคนอยู่รวมกันในสถานที่อยู่แห่งหนึ่ง เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง แบ่งเป็น
         1.ครัวเรือนซึ่งบุคคลกินอยู่รวมกันมีจำนวนตั้งแต่ 6 คนขึ้นไป 
         2.ครัวเรือนพิเศษประเภทคนงาน

  • การย้ายถิ่นของประชากรมีความหมายว่าอย่างไร (available only Thai version)

    การย้ายถิ่น หมายถึง การย้ายสถานที่อยู่อาศัยจากหมู่บ้านอื่น หรือเขตเทศบาลอื่น หรือจากประเทศอื่น ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยครั้งสุดท้าย มายังหมู่บ้านหรือเขตเทศบาลซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ปัจจุบัน ที่กำลังถูกสัมภาษณ์ 
    - การเปลี่ยนเขตเทศบาลหรือหมู่บ้าน เนื่องจากการขยายเขตเทศบาลหรือแยกหมู่บ้าน โดยที่บุคคล หรือครัวเรือนนั้นยังอยู่ประจำที่เดิม และการย้ายสถานที่อยู่อาศัยในกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา ไม่นับว่าเป็นการย้ายถิ่น

  • ครัวเรือนส่วนบุคคล หมายถึงอะไร (available only Thai version)

    ครัวเรือนที่ประกอบขึ้นด้วย บุคคลคนเดียวหรือหลายคนอาศัยอยู่ในบ้านหรือที่อยู่อาศัยเดียวกัน และจัดหาหรือใช้สิ่งอุปโภค บริโภคอันจำเป็นแก่การครองชีพร่วมกัน บุคคลเหล่านี้ อาจเป็นญาติหรือไม่เป็นญาติกันก็ได้ สำหรับครัวเรือนที่ไม่ได้เป็นญาติกันจะต้องมีจำนวนสมาชิกไม่เกิน 5 คน

  • ครอบครัวและครัวเรือน มีความหมายต่างกันอย่างไร (available only Thai version)

    ครัวเรือน หมายถึง บุคคลคนเดียว หรือหลายคนซึ่งอาศัยเป็นประจำในบ้าน หรือ สถานที่อยู่เดียวกันทั้งนี้ ไม่คำนึงถึงว่าบุคคลเหล่านั้น จะมีความสัมพันธ์ฉันญาติหรือไม่ก็ตาม โดยบุคคลเหล่านั้นจัดหา หรือใช้สิ่งอุปโภค บริโภค อันจำเป็นแก่การครองชีพร่วมกัน ครอบครัว หมายถึง บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันโดยการเกิด การแต่งงานหรือการรับ เป็นบุตรบุญธรรม และอาศัยอยู่ร่วมกัน โดยสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ 1. ครอบครัวเดี่ยวหมายถึง ครอบครัวที่มีสามีและภรรยา /สามีและภรรยาและลูก / สามีหรือภรรยาและลูก 2. ครอบครัวขยายหมายถึง ครอบครัวที่มีพ่อแม่ ปู่ ย่า ตา ยายและ / หรือญาติอื่นๆ

  • สถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิต หมายถึงอะไร (available only Thai version)

    สถานประกอบการที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการผลิต หมายถึง การเปลี่ยนรูปวัตถุให้เป็นผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่ด้วยเครื่องจักรกลหรือเคมีภัณฑ์ โดยไม่คำนึงถึงว่างานนั้น ทำด้วยเครื่องจักรหรือด้วยมือ หรือทำในโรงงาน โรงซ่อม หรือเคหะสถาน หรือผลิตภัณฑ์นั้นขายส่งหรือขายปลีกก็ตาม การประกอบชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นนับว่าเป็นการผลิตด้วย

  • แรงงานนอกระบบและแรงงานในระบบ มีคำนิยามว่าอย่างไร (available only Thai version)

    แรงงานในระบบ คือ ผู้มีงานทำที่ได้รับความคุ้มครองและหลักประกันทางสังคม (ซึ่งได้รับความ คุ้มครองตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน) แรงงานนอกระบบ คือ ผู้มีงานทำที่ไม่ได้รับความคุ้มครอง และไม่มีหลักประกันทางสังคมจากการทำงาน

  • ห้องพัก จำแนกออกเป็นกี่ประเภท คืออะไรบ้าง (available only Thai version)

    ห้องพัก จำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ
         1.ห้องชุด (Suite) หมายถึง ห้องพักที่ประกอบด้วยห้องนอนหนึ่งหรือสองห้อง ห้องรับแขกหรือห้องนั่งเล่นและอาจมีห้องสำหรับใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นรวมอยู่ด้วยได้แก่ ห้องสำหรับเลขานุการ เป็นต้น
         2.ห้องสามัญ หมายถึง ห้องพักอื่น ๆ ที่มิใช่ห้องชุด ได้แก่ ห้องเตียงเดี่ยว ห้องเตียงคู่ และห้อง 3 เตียง เป็นต้น

  • ในการทำสำมะโน/สำรวจมีวิธีการแบ่งเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาลอย่างไร (available only Thai version)

    เขตเทศบาล หมายถึง ท้องถิ่นซึ่งได้มีพระราชกฤษฎีกาออกตามความในพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 จัดตั้งขึ้นเป็นเทศบาล และพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาลตำบล พ.ศ. 2542 ขึ้นเป็นเทศบาลตำบล โดยกำหนดเขตพื้นที่ของเทศบาลนั้นไว้ด้วย รวมพื้นที่ กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา นอกเขตเทศบาล หมายถึง พื้นที่ภายนอกเขตเทศบาลทั้งหมด หรือที่เรียกว่าหมู่บ้าน

  • ประเภทของบุหรี่ ได้แก่ อะไรบ้าง (available only Thai version)

         1.บุหรี่ซอง ผลิตในประเทศ โดยโรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ ชนิดมีก้นกรองและชนิดไม่มีก้นกรอง โดยชนิดมีก้นกรอง เช่น กรุงทอง 90 กรองทิพย์ 90 สามิต 90 รยส. 90 สายฝน 90 กรองทิพย์ไลทส์ รยส.90 เดอลุกซ์ กรองทิพย์90 เดอลุกซ์ ฯลฯ ส่วนชนิดไม่มีก้นกรองหรือบุหรี่สั้น ได้แก่ พระจันทร์ 33 เกล็ดทอง 33 สามิต 33 กรุงทอง 33 และรวงทิพย์ 33
         2.บุหรี่ซอง ผลิตจากต่างประเทศได้แก่ ส่วนบุหรี่ที่ผลิตในต่างประเทศและมีการนำเข้ามาในประเทศที่รู้จักกันทั่วไป ได้แก่ มาร์ลโบโล วินสตัน มอร์ ดันฮิลส์ ลัคกี้สไตรค์
         3.บุหรี่มวนเองหรือบุหรี่ที่ไม่ได้ผลิตจากโรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง โดยใช้วัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่น อาจเป็นกระดาษ ใบตอง ใบจาก ใบมะกา เป็นต้น หรือเป็นบุหรี่ที่ผลิตจากโรงงานของเอกชน ที่ไม่ใช่โรงงานยาสูบ
         4.บุหรี่ซิการ์ ในพระราชบัญญัติยาสูบพ.ศ. 2509 หมายถึง ใบยาแห้งหรือยาอัด ซึ่งม้วนด้วยใบยาแห้งหรือยาอัดบุหรี่ซิการ์ที่มีจำหน่ายในประเทศส่วนใหญ่ผลิตจากประเทศอเมริกาและประเทศแถบยุโรป ได้แก่ ประเทศเดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ และอังกฤษ
         5.ไปป์เป็นกล้องสูบบุหรี่ที่มีเบ้าสำหรับใส่ยาเส้นไปป์ ส่วนมากทำมาจากเหง้าของต้นไม้ที่แข็ง และทนความร้อนได้ อาจทำจากซังข้าวโพดหรือทำด้วยพลาสติกที่ทนความร้อนได้ดี

  • บุหรี่ หมายถึงอะไร (available only Thai version)

    ในพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509 หมายถึง ยาเส้นหรือยาเส้นปรุง ไม่ว่าจะมีใบยาแห้งหรือยา อัดเจือปนหรือไม่ ซึ่งมวนด้วยกระดาษหรือวัตถุที่ทำขึ้นใช้แทนกระดาษหรือใบยาแห้งหรือยาอัด

  • การทำสำมะโนและการสำรวจ มีความหมายว่าอย่างไร (available only Thai version)

    สำมะโน (Census) คือเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากหน่วยแจงนับทุกหน่วยที่อยู่ความสนใจ สำรวจด้วยตัวอย่าง (Sample Survey) คือ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากหน่วยแจงนับบางหน่วยที่สนใจ

  • โรงแรมและเกสตเฮาส์ (available only Thai version)

    บ​รรดาสถานที่ทุกชนิดที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรับสินจ้างสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลที่ประสงค์จะหาที่อยู่ หรือที่พักชั่วคราว