NSO

ตัวบ่งชี้/ตัวชี้วัดทางสถิติในระดับสากล

0

Statistical Performance Indicators (SPI)

     Statistical Performance Index (SPI) เป็นดัชนีสมรรถนะทางสถิติที่สำคัญที่ถูกนำไปใช้ในการวัดความสามารถทางสถิติภายใต้การวัดความสามารถในมิติที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลของประเทศต่าง ๆ ทั้ง Statistical Capacity Development ของ PARIS21 การวัดผลการดำเนินงานด้านการพัฒนาระบบสถิติภายใต้ SDGs 17: Partnerships for the goals และดัชนีความพร้อมด้านปัญญาประดิษฐ์ของรัฐบาลหรือ Government AI Readiness Index ที่มีการนำดัชนีสมรรถนะทางสถิติเป็นส่วนหนึ่งภายใต้มิติความพร้อมข้อมูลหรือ Data Availability โดย SPI เป็นตัวชี้วัดที่จัดทำขึ้นโดยธนาคารโลก (World Bank) เพื่อวัดสมรรถนะทางสถิติของประเทศที่ครอบคลุมกว่า 174 เขตเศรษฐกิจ ประกอบด้วย 5 เสาหลัก (Pillar) 22 มิติ (Dimensions)เพื่อประเมินสภาวะ (Maturity) ของระบบสถิติของประเทศ โดย 5 เสาหลัก ได้แก่ การใช้ข้อมูล การบริการข้อมูล การผลิตข้อมูล แหล่งข้อมูล และโครงสร้างพื้นฐานข้อมูล

ภาพรวมสถานะค่าคะแนน SPI ในระดับสากล
(ที่มา: https://www.worldbank.org/en/programs/statistical-performance-indicatorshttps://data.worldbank.org/indicator/IQ.SPI.OVRL?end=2019&locations=TH&start=2019&view=map

 

ค่าคะแนน SPI ของประเทศไทย ช่วงปี 2016 - 2019
(ที่มา: https://data.worldbank.org/indicator/IQ.SPI.OVRL?locations=TH)

 

     ข้อมูลล่าสุดของประเทศไทยที่เผยแพร่พบว่าคะแนนประเทศไทยอยู่ที่ 76.1 (ค่าปีล่าสุด 2019) หากเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในอาเซียนพบว่า ประเทศอินโดนีเซียมีค่าคะแนนที่ 72.2 ญี่ปุ่น 85.8 มาเลเซีย มีค่าคะแนนที่ 71.1 ในขณะที่ประเทศออสเตรเลียมีค่าคะแนนที่ 88.2 ซึ่งก่อนหน้านี้ในปี 2016 ค่าคะแนนประเทศไทยอยู่ที่ 77.4 แต่ยังแนวโน้มยังอยู่ในช่วงขาลง จึงจำเป็นต้องเร่งพัฒนาระบบสถิติของประเทศเพื่อให้มีสมรรถนะที่ดีขึ้นในระดับสากล

ค่าคะแนนแต่ละเสาหลัก (Pilar) ของประเทศไทย
(ที่มา: https://www.worldbank.org/en/programs/statistical-performance-indicators/explore-data#3)

      เมื่อพิจารณาทั้ง 5 เสาหลัก พบว่าด้านที่ได้คะแนนสูงสุด ได้แก่ ด้านการใช้ข้อมูล (Data Use) คือ การผลิตข้อมูลสถิติที่มีการใช้งานสูง ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ (100 คะแนนเต็ม) ส่วนด้านที่ได้คะแนนน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านของแหล่งข้อมูล (Data Source) ที่จำเป็นต้องมีการพัฒนาแหล่งข้อมูลใหม่ ๆ เพิ่มเติม เช่น ข้อมูลจากทะเบียน ข้อมูลภูมิสารสนเทศ ตลอดจนข้อมูลที่จากภาคเอกชนและจากประชาชน เพื่อตอบสนองความต้องการใช้ข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและหลากหลาย