NSO

การติดตามและรายงานผล

0

หน้าแรก / การติดตามและรายงานผล / ตัวบ่งชี้/ตัวชี้วัดทางสถิติในระดับสากล

ตัวบ่งชี้/ตัวชี้วัดทางสถิติในระดับสากล

Statistical Capacity Development

ระบบสถิติที่ดีจะทำให้สถิติมีคุณภาพและเชื่อถือได้ สามารถนำไปใช้ขับเคลื่อนการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม และทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศ รวมทั้งการติดตามประเมินผลเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดย PARIS21 ได้พัฒนาเครื่องมือ Statistical Capacity Development เพื่อใช้ในการประเมินความสามารถทางสถิติของประเทศต่าง ๆ ซึ่งจะพิจารณาจากความสัมพันธ์ของตัวชี้วัดที่สอดคล้องกันตามห่วงโซ่คุณค่าหรือวัฏจักรข้อมูลที่ดี ใน 5 มิติ ประกอบด้วย การวางแผนและการผลิต การเผยแพร่ ความรู้และเข้าใจ คุณค่าและการใช้งาน และการลงทุน

The virtuous data cycle
(ที่มา: Statistical Capacity Development Outlook 2019)

     โดยผลการประเมินความสามารถทางสถิติของประเทศไทย ตามกรอบของ PARIS21 นั้น ในด้านการวางแผนถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี แต่ในด้านการผลิตและการเผยแพร่สถิติที่ครอบคลุมด้านเศรษฐกิจ สังคม และ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามค่าดัชนี Open Data Inventory Index (ODIN) จะต้องมีการพัฒนาให้เกิดการเปิดเผยข้อมูลและมีความครอบคลุมมากขึ้น ในด้านการใช้งานยังคงต้องพัฒนาการให้บริการ เพื่อให้เกิด การใช้งานทั้งในระดับสื่อมวลชนและในระดับนโยบาย และในด้านการลงทุนเพื่อการพัฒนาสถิติยังมีสัดส่วนค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ทั้งในระดับภูมิภาค และระดับโลก

(ที่มา: Statistical Capacity Development Outlook 2019) 

   ดังนั้น ความท้าทายที่สำคัญอีกประการในระยะต่อไปคือการยกระดับขีดความสามารถทางสถิติ เพื่อสร้างการยอมรับและความน่าเชื่อถือที่มีต่อระบบสถิติของประเทศ ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก ซึ่งจะทำให้เกิดการใช้ประโยชน์จากจ้อมูลสถิติทั้งในเชิงนโยบายและประชาชนต่อไป

Open Data Inventory (ODIN)

Open Data Inventory (ODIN) 2020/21 เป็นการประเมินความครอบคลุม (Coverage) และการเปิดเผยข้อมูล (Openness) ของสถิติ ที่ผลิตภายใต้ระบบสถิติของประเทศตามที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทางการของสำนักงานสถิติแห่งชาติ


ภาพรวมสถานะค่าคะแนน ODIN ในระดับสากล

วัตถุประสงค์ของ ODIN คือ การวัดความพร้อมใช้งานของสถิติในระดับประเทศ และการปฏิบัติตามมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูล โดย ODIN จะวัดระดับการเปิดเผยข้อมูลในแง่ของลักษณะการเข้าถึงแทนที่จะจัดหรือวัดประเภทว่าเป็นชุดข้อมูลเปิดหรือปิด

การประเมินด้านความครอบคลุมและการเปิดเผยข้อมูล จะมีองค์ประกอบด้านละ 5 องค์ประกอบ ซึ่งคำนวนคะแนนรวมตามหมวดหมู่และองค์ประกอบต่าง ๆ ในแต่ละด้าน รวมกันเป็นคะแนนดัชนีของความครอบคลุมและการเปิดข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ (National Statistical Offices: NSO) โดยมีรายละเอียดดังนี้

ด้านความครอบคลุม (Coverage)

ด้านการเปิดเผยข้อมูล (Openness)

1) จำนวนตัวบ่งชี้ที่เผยแพร่และการจำแนก

1. ความสามารถในการอ่านของเครื่อง (Machine Readability

2) การมีข้อมูลในช่วง 10 ปีย้อนหลัง (ระหว่างปี 2553 – 2562)

2. การเผยแพร่ข้อมูลแบบ Nonproprietary Format

3) การมีข้อมูลในช่วง 5 ปีย้อนหลัง (ระหว่างปี 2558 – 2562)

3. รูปแบบในการดาวน์โหลดข้อมูล

4) การมีข้อมูลบริหารงานระดับที่ 1 (First Administrative level)

4. ความพร้อมใช้งานของเมตาดาตา

5) การมีข้อมูลบริหารงานระดับที่ 2 (Second Administrative level)

5. ข้อกำหนดหรือเงื่อนไขการใช้งาน (Term of Use: TOU)


ทั้งนี้ การประเมินปี 
2563/64 มีการกำหนดสถิติที่ต้องเผยแพร่ข้อมูลโดยแบ่งออกเป็น 3 ด้าน (สังคม เศรษฐกิจและการเงิน และสิ่งแวดล้อม) โดยแบ่งออกเป็น 22 หมวดหมู่ 65 รายการ (ดูรายการชุดข้อมูลที่สำนักงานสถิติแห่งชาติเผยแพร่)

(ที่มา: https://odin.opendatawatch.com/Report/countryProfileUpdated/THA?year=2020)

     จะเห็นว่า ค่าดัชนี Open Data Inventory Index (ODIN) ของประเทศไทยอยู่ที่ 44 คะแนน อยู่อันดับที่ 117 จาก 187 เขตเศรษฐกิจ โดยแบ่งเป็นคะแนนด้านความครอบคลุมและการเปิดเผยข้อมูลอยู่ที่ 49 และ 39 คะแนน ตามลำดับ (เต็ม 100 คะแนน) ซึ่งจะต้องมีการพัฒนาข้อมูลให้มีครอบคลุมสามารถตอบสนองต่อความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นได้อย่างครบถ้วน รวมทั้ง พัฒนารูปแบบการนำเสนอข้อมูลที่หลากหลายและสามารถเข้าถึงได้สะดวกยิ่งขึ้น

Statistical Performance Indicators (SPI)     

     Statistical Performance Index (SPI) เป็นดัชนีสมรรถนะทางสถิติที่สำคัญที่ถูกนำไปใช้ในการวัดความสามารถทางสถิติภายใต้การวัดความสามารถในมิติที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลของประเทศต่าง ๆ ทั้ง Statistical Capacity Development ของ PARIS21 การวัดผลการดำเนินงานด้านการพัฒนาระบบสถิติภายใต้ SDGs 17: Partnerships for the goals และดัชนีความพร้อมด้านปัญญาประดิษฐ์ของรัฐบาลหรือ Government AI Readiness Index ที่มีการนำดัชนีสมรรถนะทางสถิติเป็นส่วนหนึ่งภายใต้มิติความพร้อมข้อมูลหรือ Data Availability โดย SPI เป็นตัวชี้วัดที่จัดทำขึ้นโดยธนาคารโลก (World Bank) เพื่อวัดสมรรถนะทางสถิติของประเทศที่ครอบคลุมกว่า 174 เขตเศรษฐกิจ ประกอบด้วย 5 เสาหลัก (Pillar) 22 มิติ (Dimensions)เพื่อประเมินสภาวะ (Maturity) ของระบบสถิติของประเทศ โดย 5 เสาหลัก ได้แก่ การใช้ข้อมูล การบริการข้อมูล การผลิตข้อมูล แหล่งข้อมูล และโครงสร้างพื้นฐานข้อมูล

ภาพรวมสถานะค่าคะแนน SPI ในระดับสากล
(ที่มา: https://www.worldbank.org/en/programs/statistical-performance-indicatorshttps://data.worldbank.org/indicator/IQ.SPI.OVRL?end=2019&locations=TH&start=2019&view=map

 

ค่าคะแนน SPI ของประเทศไทย ช่วงปี 2016 - 2019
(ที่มา: https://data.worldbank.org/indicator/IQ.SPI.OVRL?locations=TH)

 

     ข้อมูลล่าสุดของประเทศไทยที่เผยแพร่พบว่าคะแนนประเทศไทยอยู่ที่ 76.1 (ค่าปีล่าสุด 2019) หากเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในอาเซียนพบว่า ประเทศอินโดนีเซียมีค่าคะแนนที่ 72.2 ญี่ปุ่น 85.8 มาเลเซีย มีค่าคะแนนที่ 71.1 ในขณะที่ประเทศออสเตรเลียมีค่าคะแนนที่ 88.2 ซึ่งก่อนหน้านี้ในปี 2016 ค่าคะแนนประเทศไทยอยู่ที่ 77.4 แต่ยังแนวโน้มยังอยู่ในช่วงขาลง จึงจำเป็นต้องเร่งพัฒนาระบบสถิติของประเทศเพื่อให้มีสมรรถนะที่ดีขึ้นในระดับสากล

ค่าคะแนนแต่ละเสาหลัก (Pilar) ของประเทศไทย
(ที่มา: https://www.worldbank.org/en/programs/statistical-performance-indicators/explore-data#3)

      เมื่อพิจารณาทั้ง 5 เสาหลัก พบว่าด้านที่ได้คะแนนสูงสุด ได้แก่ ด้านการใช้ข้อมูล (Data Use) คือ การผลิตข้อมูลสถิติที่มีการใช้งานสูง ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ (100 คะแนนเต็ม) ส่วนด้านที่ได้คะแนนน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านของแหล่งข้อมูล (Data Source) ที่จำเป็นต้องมีการพัฒนาแหล่งข้อมูลใหม่ ๆ เพิ่มเติม เช่น ข้อมูลจากทะเบียน ข้อมูลภูมิสารสนเทศ ตลอดจนข้อมูลที่จากภาคเอกชนและจากประชาชน เพื่อตอบสนองความต้องการใช้ข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและหลากหลาย