NSO
0

หน้าแรก / สำมะโนประชากรและเคหะ

สำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดช่องทางการให้ข้อมูลได้หลายวิธี คือ 
            -  ส่งพนักงานออกไปสัมภาษณ์ที่บ้านท่าน
            -  ท่านเข้าไปตอบข้อมูลทาง Internet

            -  ท่านให้สัมภาษณ์ผ่านทางโทรศัพท์
            -  ท่านกรอกแบบสอบถามเอง แล้วส่งคืนทางไปรษณีย์/นัดหมายให้เจ้าหน้าที่ไปรับที่บ้านท่าน​​

การทำสำมะโนต้องใช้เจ้าหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูล ประมาณ 70,000 คน แต่สำนักงานสถิติแห่งชาติ มีเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ จึงต้องขอความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ส่งเจ้าหน้าที่มาช่วยเก็บข้อมูล เช่น เจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน  อบต. เจ้าหน้าที่เทศบาล เป็นต้น

ทุกภาคส่วน (ภาคราชการ ภาคเอกชน และภาคประชาชนสังคม)  ต้องเห็นความสำคัญ   และประโยชน์ของการทำสำมะโน และให้ความร่วมมือในการตอบสัมภาษณ์ และร่วมกันประชาสัมพันธ์งานสำมะโนฯ 

ให้ความร่วมมือในการตอบสัมภาษณ์ตามความเป็นจริง และถูกต้อง

ทะเบียนราษฎร์ เป็นข้อมูลในทะเบียนบ้าน ซึ่งมีบางคนมีชื่อในทะเบียนบ้าน แต่ตัวจริงไม่ได้อยู่ตามทะเบียนบ้าน ในขณะที่บางคนไม่ได้มีชื่อในทะเบียนบ้านที่ตัวเองอาศัยอยู่ แต่ตัวจริงอยู่ในบ้านนั้น ทำให้การวางแผนงานด้านสาธารณูปโภค ในพื้นที่ใด แล้วใช้ข้อมูลจากทะเบียน อาจทำให้ไม่เพียงพอกับประชากรในพื้นที่นั้น 

1. เพื่อให้รัฐบาลกำหนดนโยบาย/วางแผนด้านประชากร  เศรษฐกิจและสังคม ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม  ตามความต้องการ/ จำเป็นของท้องถิ่น (เทศบาล หมู่บ้าน อบต.) ซึ่งข้อมูลในระดับย่อย ไม่สามารถหาได้จากแหล่งอื่น เช่น
       - ในพื้นที่ที่มีประชากรอยู่มาก จำเป็นต้องมีสาธารณูปโภคให้เพียงพอและถูกสุขลักษณะ
          (ที่อยู่อาศัย น้ำ/ไฟ การบริการสาธารณสุข รถประจำทาง ที่ทิ้งขยะ และอื่นๆ)
       - ในพื้นที่ที่มีเด็ก คนชรา คนพิการ
       - ต้องมีโรงเรียน/ครู ที่เพียงพอและเหมาะสม
       - ต้องมีวัคซีนสำหรับเด็กแต่ละวัยให้เพียงพอ
       - ต้องจัดสวัสดิการให้เพียงพอกับคนด้อยโอกาส (คนชรา คนพิการ)
       - ในพื้นที่ที่มีแรงงานต่างด้าวอยู่หนาแน่น/แออัด
       - จำเป็นต้องจัดบริการสาธารณสุขให้เพียงพอ เพื่อป้องกันโรคระบาดหรือโรคติดต่อบางประเภทที่หายไปจากประเทศไทยแล้วแต่กลับมาใหม่กับแรงงานต่างด้าว  เช่น โรคเท้าช้าง วัณโรค
 2. ภาคเอกชนสามารถใช้ข้อมูลความหนาแน่นของประชากรในพื้นที่ต่างๆ ประกอบการตัดสินใจใน    การทำธุรกิจ ตั้งร้านค้า หรือขยายกิจการ
 3. ใช้เป็นฐานในการคาดประมาณประชากรในอนาคต
 4. ใช้ในการประเมินผลแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) และ   เตรียมแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559)

ประชากรทุกคนที่อยู่ในประเทศไทย ในวันที่ทำสำมะโน และคนต่างชาติที่มาอยู่ในประเทศไทย    ตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป 

-  ครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2452  ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2462 ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2472  ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2480  ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2490  5 ครั้งแรกเป็นการทำสำมะโนโดยกระทรวงมหาดไทย 
-  สำนักงานสถิติแห่งชาติ ทำสำมะโนประชากรครั้งแรก พ.ศ. 2503   จัดทำทุก 10 ปี และตั้งแต่ปี      พ.ศ. 2513 เป็นต้นไป ได้ทำสำมะโนเคหะพร้อมกับการทำสำมะโนประชากรร่วมด้วย
-  ในปี พ.ศ. 2553 ถือเป็นการทำสำมะโนประชากร ครั้งที่ 11 และสำมะโนเคหะ ครั้งที่ 5

การเก็บรวบรวมข้อมูลของสิ่งที่สนใจทั้งหมดทั้งประเทศ เช่น คน ที่อยู่อาศัย การเกษตร การทำประมง ธุรกิจการค้า

การเก็บรวมรวบข้อมูลเกี่ยวกับประชากรทุกคนในประเทศตามที่อยู่จริง   รวมทั้งข้อมูลที่อยู่อาศัยของประชากร       เพื่อนำเสนอผลในภาพรวมของประเทศ ในระดับหมู่บ้าน เทศบาล ตำบล อำเภอ จังหวัด และประเทศ 

เพื่อประเทศจะได้มีข้อมูลประชากรตามที่อยู่จริงในแต่ละท้องที่ เพื่อนำมากำหนดนโยบาย    และวางแผนงานในการระดับท้องถิ่น เพื่อพัฒนาประเทศ 

ทำทุก 10 ปี ในปี 2553 เป็นครั้งที่ 11 และเป็นวาระครบ 100 ปี ของการทำสำมะโนประชากรของประเทศไทย