NSO

มาตรฐานสถิติ

0

หน้าแรก / มาตรฐานสถิติ / (ร่าง) แบบจําลองทั่วไปสําหรับกระบวนงานทางสถิติ (Generic Statistical Business Process Model: GSBPM)

(ร่าง) แบบจําลองทั่วไปสําหรับกระบวนงานทางสถิติ (Generic Statistical Business Process Model: GSBPM)

ชื่อไทย: แบบจำลองทั่วไปสำหรับกระบวนงานสถิติ
ชื่อภาษาอังกฤษ: General Statistical Business Process Model
มาตรฐานการจัดจำแนกที่อ้างอิง: Generic Statistical Business Process Model Version 5.1 โดยคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจแห่งสหประชาชาติสำหรับยุโรป (The United Nations Economic Commission for Europe: UNECE)
วัตถุประสงค์: เพื่อใช้เป็นมาตรฐานสถิติกลางของประเทศไทยสำหรับใช้อธิบายและกำหนดขั้นตอนที่จำเป็นในการผลิตสถิติทางการ โดยวางกรอบการทำงานที่เป็นมาตรฐานและกำหนดคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับงานสถิติที่จำเป็นต้องใช้ร่วมกัน เพื่อให้หน่วยสถิติภายในประเทศนำไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิตสถิติให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยให้หน่วยสถิติภายในประเทศมีกระบวนการผลิตสถิติที่เหมือนกันและสามารถเปรียบเทียบกันได้ 
การปรับปรุง: ปีล่าสุด: 2567
                     ฉบับล่าสุด: ฉบับ 1.0 (Ver 1.0)
                     รายละเอียดการปรับปรุง: -
โครงสร้างการจัดจำแนก: 
ขั้นตอนที่ 1 กำหนดความต้องการ: เมื่อมีความต้องการสถิติใหม่ ๆ หรือมีข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะจากการทบทวนสถิติเดิมที่มีอยู่ ทำให้มีการจัดเตรียมแผนการผลิตสถิติเพื่อให้ได้สถิติที่ตรงตามความต้องการ
ขั้นตอนที่ 2 ออกแบบ: กำหนดผลผลิตสถิติ กรอบแนวคิด ระเบียบวิธีสถิติเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล และ กระบวนการดำเนินงาน รวมถึงการออกแบบทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดผลิตภัณฑ์สถิติหรือบริการตามที่หน่วยงานต้องการ
ขั้นตอนที่ 3 พัฒนา: การพัฒนาและทดสอบระบบการผลิตสถิติและกระบวนการทำงานที่ได้รับการออกแบบมา เพื่อให้พร้อมใช้งานในสภาพแวดล้อมจริง
ขั้นตอนที่ 4 เก็บรวบรวม: จัดเก็บหรือการรวบรวมสารสนเทศที่จำเป็นทั้งหมด และนำข้อมูลที่ได้ไปเก็บไว้ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเพื่อการประมวลผลต่อไป รวมถึงการตรวจสอบความถูกต้องของรูปแบบชุดข้อมูล
ขั้นตอนที่ 5 ประมวลผล: ประมวลผลข้อมูลและจัดเตรียมข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ซึ่งประกอบด้วย การบูรณาการ การจัดจำแนก การตรวจสอบ การแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องและสมเหตุสมผล และการแปลงข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และเผยแพร่ผลผลิตสถิติต่อไป
ขั้นตอนที่ 6 วิเคราะห์: ขั้นตอนนี้เป็นการจัดทำและตรวจสอบรายละเอียดของผลผลิตสถิติ รวมถึงจัดทำเนื้อหาของผลผลิตสถิติ (เช่น ข้อคิดเห็น คำอธิบายทางเทคนิค เป็นต้น) และตรวจสอบให้มั่นใจว่าผลผลิตสถิติที่ ได้ตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้ก่อนที่จะทำการเผยแพร่
ขั้นตอนที่ 7 เผยแพร่: เผยแพร่ผลผลิตสถิติให้กับผู้ใช้ข้อมูล รวมถึงจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมและเผยแพร่ผลผลิตสถิติผ่านช่องทางต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ใช้ข้อมูลสามารถเข้าถึงและใช้ผลผลิตสถิติที่หน่วยสถิติเผยแพร่
ขั้นตอนที่ 8 ประเมิน: ขั้นตอนนี้เป็นการจัดการเพื่อประเมินผลบางขั้นตอนในกระบวนการจัดทำสถิติ ซึ่งเป็นการ ประเมินผลการดำเนินงานเมื่อสิ้นสุดการทำงานเฉพาะขั้นตอนที่ต้องการประเมิน โดยสามารถทำได้ระหว่างกระบวนการจัดทำสถิติ
หน่วยงานเจ้าของมาตรฐาน: กลุ่มมาตรฐานสถิติ กองนโยบายและวิชาการสถิติ สำนักงานสถิติแห่งชาติ
สถานะ: รอเสนอคณะอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสถิติประเทศไทย